|
|
 |
|
|
เริ่มนับ วันที่ 28 ก.ย. 2550 |
|
|
 |
|
|
 |
|
|
|
|
ตำบลนครสวรรค์ตก เป็นตำบลที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 100 ปีเศษ เดิมชื่อตำบล "นครตก" ต่อมาเปลี่ยนเป็นประมาณ "นครสวรรค์ตก" ศูนย์กลางตำบลคือ บ้านสันคู (หมู่ที่ 3,4,5) ซึ่งแต่เดิมเป็นยุทธภูมิในสนามรบ สมัยสงครามพม่า ซึ่งพม่ายกทัพเข้ามาทาง เขาโกรกพม่า หมู่ที่ 10 (เขาขาดในปัจจุบัน) ซึ่งอยู่
ใน เขตเทศบาลนครนครสรรด์ เกิดการปะทะกันทำให้เกิดคันคูใหญ่ๆ รอบหมู่บ้านโดยตลอด ต่อมาในปี 2470 ตำบลนครสวรรค์ตก ได้รวมกับ ตำบลท่าทอง (ปัจจุบัน คือ หมู่ 7 บ้านท่าทอง) ตั้งเป็น ตำบลนครสวรรค์ตก และ ได้รับการประกาศให้จัดตั้งเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลนครสวรรค์ตก เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 |
|
|
|
|
|
ตำบลนครสวรรค์ตก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอเมืองนครสวรรค์ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองนครสวรรค์ ประมาณ 9.425 กิโลเมตร ห่างจากศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์ ประมาณ 4.85 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3005 (ถนนสายนครสวรรค์-โกรกพระ)
ตำบลนครสวรรค์ตก มีเนื้อที่ประมาณ 17,933 ไร่ หรือ 28.693 ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
|
|
เป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา น้ำท่วมขังในฤดูฝน ความสูงของพื้นที่จากระดับน้ำทะเลน้อยกว่า 40 เมตร ทำให้น้ำท่วมในฤดูฝน ซึ่งน้ำจะ
หลากมาจากอำเภอลาดยาวทางด้านตะวันตกและทางเหนือ |
|
|
|
|
|
สภาพภูมิอากาศอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะพัดพาความชุ่มชื้น และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะพัดพาเอาลมหนาวและความแห้งแล้ง ทำให้ช่วงเดือนสิงหาคม กันยายน เกิดฝนตกหนัก อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 16-17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 37-40 องศาเซลเซียส มีค่าความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปี 70% |
|
|
|
|
|

 |
ประชากรทั้งหมด จำนวน 17,024 คน |

 |
จำนวนครัวเรือน 8,418 ครัวเรือน |

 |
ความหนาแน่นประชากรโดยเฉลี่ย 593.37 คน/ตารางกิโลเมตร |
|
 |
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
ตำบลวัดไทรย์, เทศบาลนครนครสวรรค์ |
 |
|
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ |
ตำบลตะเคียนเลื่อน |
|
 |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ |
ตำบลหนองกรด ตำบลบางประมุง อำเภอโกรกพระ |
 |
|
ทิศตะวันตก |
ติดต่อกับ |
ตำบลนครสวรรค์ออก |
|
|
|
|
    |
|
|
|
 |
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนประชากร |
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
จำนวน
ครัวเรือน |
 |
|
1 |
|
บ้านตลาดใต้ |
1,160 |
1,371 |
2,531 |
1,219 |
|
 |
2 |
|
บ้านยางโทน |
498 |
573 |
1,071 |
566 |
 |
|
3 |
|
บ้านสันคู |
821 |
963 |
1,784 |
785 |
|
 |
4 |
|
บ้านสันคู |
1,729 |
2,107 |
3,836 |
1,874 |
 |
|
5 |
|
บ้านสันคู |
375 |
413 |
788 |
380 |
|
 |
6 |
|
บ้านน้ำหัก |
341 |
374 |
715 |
292 |
 |
|
7 |
|
บ้านท่าทอง |
640 |
668 |
1,308 |
664 |
|
 |
8 |
|
บ้านวังไผ่ |
1,110 |
1,178 |
2,288 |
1,331 |
 |
|
9 |
|
บ้านปากดง |
486 |
567 |
1,053 |
557 |
|
 |
10 |
|
บ้านท่าทอง |
743 |
907 |
1,650 |
750 |
 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
รวม |
7,903 |
9,121 |
17,024 |
8,418 |
 |
|
|
(ข้อมูล ณ วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ที่มา : สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง) |
|
|
|
ราษฎรส่วนใหญ่มีอาชีพหลัก คือ รับจ้างทั่วไป รองลงมา คือรับราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ค้าขาย และเกษตรกรรม |
|
|
|
|
|